Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 
 
  ห้องสมุดฯ “ร่วม” สถานีปลูกคิด ปันสุข สาสบหก
  วันที่  22/12/2557
 
 


รายละเอียด
แจ้ห่ม : เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๙.๒๐ น. ที่ผ่านมา ห้องสมุดประชาชนอำเภอแจ้ห่ม กศน.ตำบลบ้านสา ร่วมจัดนิทรรศการส่งเสริมการอ่าน งานสถานีปลูกคิด ปันสุข SCG ฮอมผละหญาสาสบหก ณ บ้านสาสบหก หมู่ ๒ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง จัดโดยบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัดมหาชน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ให้เกียรติเป็นประธานเปิด และ บรรยายพิเศษ มีชาวบ้านสาและผู้สนใจจากทั่วลำปางเข้าร่วมคับคั่งกว่า ๓๐๐ ชีวิต

สถานีปลูกคิดปันสุข ฮอมผะหญาสาสบหก เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต โดยการสร้างฝายชะลอน้ำและป้องกันไฟ ช่วยฟื้นคืนผื่นป่าเสื่อมโทรมบ้านสาสบหกให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ปี 2550 จนก่อเกิดเป็นสถานีเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในและนอกชุมชน ประกอบด้วย สถานีฝายเปลี่ยนชีวิต สถานี “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ คน น้ำ ป่า สถานีเกษตรอินทรีย์ สถานีพันธุ์ข้าว เรื่องราวข้าวเหนียวธัญสิริน พันธุ์ข้าวพระราชทาน สถานีถักทอชีวิตและมิตรภาพ เรียนรู้การถักไนลอนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และสถานีโฮมสเตย์ สัมผัสวีถีชีวิตยั่งยืนของชุมชน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า สถานีปลูกคิด ปันสุข คงเหมือนสถานีรถไฟที่ผู้มาเยือนต้องลงมาศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องการทำฝายชะลอน้ำเพื่อฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผื่นป่า ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกิดขึ้นครั้งแรกที่ห้วยฮ่องไคร้ ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งมาก พระองค์ท่านรับสั่งว่าจะฟื้นให้เป็นป่าภายใน ๑๐ ปี ไม่มีใครเข้าใจคำว่าฝายแม้ว พระองค์ท่านทรงพระราชทานคำอธิบายต่อว่า เห็นพวกม้งในป่าไหมล่ะ เวลาเขาอยากจะเก็บกักน้ำไว้ เขาก็เอาก้นหินไปโยน ๆ ขวางลำธารไว้ตามที่ต่าง ๆ มันก็ขังน้ำได้พอใช้ได้ เขาไม่มีวิชาความรู้จะสร้างฝายสร้างเขื่อนอะไรแบบเราหรอก แต่เขาก็ช่วยตัวเองได้ มันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน แล้วกรมชลประทานก็นำไปดำเนินการ พอเสร็จก็ถวายรายงานพระเจ้าอยู่หัวว่าทำไม่สำเร็จหรอก เพราะไม่มีฝายอันไหนกักเก็บน้ำได้ คำว่าฝายที่เขาเรียนมานั้น เมื่อสร้างเสร็จต้องกักเก็บน้ำได้ มันไม่มีในตำรา พระองค์ท่านทรงสร้างตำราขึ้นใหม่เลย เขาตกใจสุดขีดเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้ทะลวงฝายที่เก็บน้ำไว้ไม่ปล่อย เพื่อให้น้ำค่อย ๆ ซึม เป็นการชะลอน้ำ พระองค์ท่านต้องการสร้างถุงน้ำเกลือค่อย ๆ หยดลงจากที่สูง ต้นไม้ที่ห้วยฮ่องไคร้จึงฟื้นขึ้นมาได้เพราะความชุ่มชื่น ทั้งยังทรงรับสั่งให้เลิกปลูกป่าแบบแถวทหาร เรียงเป็นแนวมันไม่ใช่ป่า ไม่ใช่ธรรมชาติ ธรรมชาติเขาไม่เป็นอย่างนั้น

ทำไมต้องเป็นน้ำ เพราะน้ำคืนชีวิต ถ้าไม่มีน้ำชีวิตจบ ปัจจัยสี่ที่พระพุทธเจ้าว่านั้นก็มาจากน้ำทั้งสิ้น การรักษาผืนป่าจึงเป็นการอนุรักษ์น้ำ ป่าจะค่อย ๆ ปล่อยน้ำให้เราใช้เหมือนจ่ายเงินเดือนให้เรา ฉะนั้นเราต้องส่งมอบส่งดีเหล่านี้ให้ลูกหลานต่อไป


ในงานมีบูธนิทรรศการของดีของดังในชุมชนบ้านสา นำออกมาให้ชมให้ชิมกันเพียบ ขณะเดียวกันห้องสมุดประชาชนอำเภอแจ้ห่ม กศน.ตำบลบ้านสา ออกเคลื่อนที่ให้บริการหนังสืออาเซียน หนังสือเด็ก นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แก่ผู้ร่วมงาน ทั้งยังจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน วาด-เขียนคำอวยพรไปรษณียบัตร ส่งถึงคนที่ห่วงหาห่างไกล ได้รับความสนใจจากเด็ก ๆ และผู้ปกครองมากมาย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแจ้ห่ม 136 ม.3 ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โทร./FAX 054-271555