Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 
 
 
  22 กุมภาพันธ์ 2560 พิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อพญาคำลือ ประจำปี 2560
  วันที่  23/02/2560
 
 


รายละเอียด
    
22 กุมภาพันธ์ 2560 พิธีบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อพญาคำลือ ประจำปี 2560

กศน.อำเภอแจ้ห่ม ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามภาระกิจของการจัดการศึกษา ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการอาชีพ การทำที่รองครกรองเขียง การทำโดนัทจิ๋ว การร้อยลูกปัด กิจกรรมแนะแนวการศึกษาหลักสูตรขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

เจ้าพ่อพญาคำลือเป็นโอรสของท้าวพญาคำแดง ในราชวงศ์โยนกนาคนคร เป็นราชนัดดาในของพญางำเมือง (ปู่) แห่งเมืองพะเยา มีพระมารดาชื่อพระนางอินเหลาแห่งเวียงเปียงดาว (เชียงดาว) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าแสนภูผู้
ครองเวียงระมิงค์ สืบเชื้อสายราชวงศ์เชียงแสน เป็นผู้สร้างเมืองสยมภูนครินทร์ (คือแจ้ซ้อน, เมืองปาน, และห้าง
ฉัตรในปัจจุบัน) ได้มอบให้ท่านท้าวพญาคำแดงครองเมืองสยมภูนครินทร์ภายหลังพญาคำแดงทรงเลี่ยงเมือง
ติดตามพระนางอินเหลาไปยังเชียงดาว และมอบให้ขุนเจื่องครองเมืองสยมภูนครินทร์แทน ส่วนเจ้าพ่อพญาคำลือ
ราชนัดดาซึ่งเป็นอุปราชใหญ่ครองเมืองวิเชตนครสืบมา เจ้าพ่อพญาคำลือผู้เป็นอุปราชใหญ่ได้รับแต่งตั้งให้ครอง
เมืองวิเชตนคร เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๖๑ (คือแจ้ห่มปัจจุบัน) ท่านมีสายเลือกนักรบเต็มตัวอันสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน เจ้าพ่อพญาคำลือนั้นมีเจ้าสุดใจเป็นคู่ชีวิตแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๘๑ พวกเงี้ยวตั้งตนเป็นใหญ่ในดินแดนภาคเหนือโดยมีเจ้าคำฟู พญากาวน่าน ยกทัพมาตีขนาบเมืองใหญ่น้อย ได้แผ่อำนาจมาถึงเมืองพะเยา เจ้าพ่อพญาคำลือจึงต้องยกทัพไปช่วยปราบปราม โดยมีเจ้านายฝ่ายเหนือมาร่วมรบในครั้งนั้นอาทิเช่น พญาวัง (อำเภอวังเหนือ) เมืองลานช้าง เวียงระมิงค์ เขลางค์นคร เวียงโกศัย (เมืองแพร่) พิษณุโลก (เมือง
โอฆะบุรี) อุตรดิตถ์ (เมืองทุ่งยั้ง) เมืองพิชัย เป็นต้น รบกันนานถึง 2 เดือน จึงได้ ชัยชนะในที่สุดพวกเงี้ยวต้องถอย
ร่นกลับไปแค้วนสิบสองปันนา กาลต่อมาศึกพม่ากับ เวียงพิงค์ได้อุบัติขึ้นอีก พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองสยมภูนครินท์
เมืองนี้จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า นานถึง ๑๐ ปี พม่าได้พยายามที่จะยกทัพมาตีเอาวิเชตนคร ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง
ของหัวเมืองสยามภูนครินทร์ แต่ก็ไม่สามารถตีเอาเมืองนี้ไปได้ ทั้งนี้เพราะพระปรีชาสามารถของเจ้าพ่อพญาคำลือ
ที่ต่อสู้รักษาเมืองไว้อย่างแข็งขัน ประกอบกับเมืองวิเชตนครเป็นเมืองที่ราบลุ่มมีภูเขาล้อมรอบ นับว่าเป็นชัยภูมิที่ดี

เมื่อข้าศึกยกทัพมาก็จะทราบล่วงหน้าก่อนทุกครั้งไป จึงสามารถเตรียมกำลังให้พร้อมรบอยู่ตลอดเวลา พวกพม่าจึง
ไม่อาจตีเอาเมืองวิเชตนครได้ ต่อมาเจ้าพ่อพญาคำลือ ได้ร่วมกับเจ้าเมืองฝ่ายเหนือยกทัพไปตีพม่า กองทัพพม่า
แตกกระจาย ถอยร่นกลับไปจึงได้ชิงเอาเมืองสยมภูนครินทร์คืนมาได้ ในชีวิตเจ้าพ่อพญาคำลือต้องรบเพื่อปกป้องเมือง ให้พ้นจากอิทธิพลการแย่งชิงของข้าศึก ยามรบก็รบด้วยความแกล้วกล้าสุดชีวิต ยามสงบก็ปกครองเมืองให้เป็นสุขด้วยความรักและเมตตา เจ้าพ่อพญาคำลือจึงเป็นที่เคารพรักบูชาของชาวเมืองดุจพ่อเจ้า เจ้าพ่อพญาคำลือใฝ่ใจในธรรมยิ่งนักยามสงบก็ทำนุบำรุงวัดวาอารามหลายแห่งโดยเฉพาะวัดพระธาตุดอยภูซาง วัดผาแดงหลวง
และวัดอักโขชัยคีรีที่ประดิษฐานพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์เจ้าพ่อจะบูรณะให้ดูเด่นเป็นสง่าคู่เมืองวิเชตนคร ตลอดมา
เมื่อท่านได้สิ้นชีพตักษัยไปแล้ว ชาวเมืองจึงได้ร่วมใจกันสร้างศาลไว้ ณ ที่คุ้มเก่าและดั้งเดิมที่สถานีตำรวจภูธรแจ้
ห่ม และสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาคำลือไว้ที่เชิงดอยวัดอักโขคีรี ให้อยู่คู่วิเชตนคร เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและ
เป็นที่เคารพสักการบูชา เพื่อแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะท่านก็เป็นองค์หนึ่งในสยามเทวาธิราชเหมือนกัน เมืองที่มีความสัมพันธ์กับวิเชตนครได้แก่ เมืองวังเฮือ (อำเภอวังเหนือ) เมืองลานช้าง เวียงพิงค์ พะเยา เมืองเชียงราย เขลางค์นคร เวียงโกศัย (แพร่) สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เมืองพิชัยคำสดุดี พ่อ เป็นขวัญเมืองประเทืองราษฏร์พญา เก่งกาจชำนาญศึกแต่หนหลังคำ ใหญ่ยิ่งกว่าทวีกล้ารวมพลังลือ ชื่อยังคู่คามเขตวิเชตนครราชวงศ์แห่งเมืองวิเชตนครพญาคำแดงและพระนางอิเหลา มีโอรสด้วยกัน

1. พญาคำลือ (คำฤา) ครองเมืองวิเชตนคร

2. ขุนลือ (ขุนฤา) ครองเมืองเวียงกาหลงที่แป๋วาวี ใกล้เวียงพางคำ

3. ขุนไส ถือครองเพศฤาษีบำเพ็ญเพียร

4. ขุนเจื่อง ครองเมืองสยมภูนครินทร์

5. พระนางสะหรี๋บัวเกี๋ยงคำ เป็นพระขนิษฐาต่างมารดาพญาคำลือ

6. พญาลำพอง เป็นพระอนุชาต่างมารดาพญาคำลือ

พญาคำลือ มีโอรสและราชธิดา

1. พญาผาแดง ครองเวียงคำ (ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง ของวิเชตนคร)

2. พญาวัง หรือเจ้าพ่อผาค่าง ครองวังเฮือ (วังเหนือ)

3. พญากาบกล้วย ครองดอยเงิน

4. พญาอำพอง ครองเมืองปานทุ่งสลวง (อำเภอเมืองปาน) มีโอรสชื่อ ขุนปานจเร

5. พระนางสะหรี๋บัวบาน อภิเษกกับเจ้าน้อยจันทา แห่งเมืองวรนคร

6. เป็นแม่ฮั๋วศรีจันทา

7. ขุนลาวเงิน และขุนลาวเครือ ครองเมืองทางลานช้าง

8. พระแก้ว และพระขวัญ ลูกพระแม่ทิ

หน้าหลัก  |   ความเป็นมา   |   โครงสร้าง   |  นโยบาย   |   บทบาท/ภารกิจ   |  บุคลากร  |   ติดต่อเรา  
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
ที่อยู่ 136 ม.3 ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โทร./FAX 054-271555