Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
ID
PWD
กลับหน้าหลัก
แนะนำสถานศึกษา
ความเป็นมา
โครงสร้าง
นโยบาย
บทบาท/ภารกิจ
บุคลากร
ผลงานทางวิชาการ
แนะนำอำเภอ
ที่ตั้งและอาณาเขต
สถานที่ท่องเที่ยว
Roadmap
กิจกรรมเด่น
เรียนรู้กิจกรรม กศน.
ข้อมูล สารสนเทศ
Download
เรื่องน่ารู้
ศศช.
ติดต่อหน่วยงาน
รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2553 วันที่ 13/02/2557
รายละเอียด
สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม มีผลการประเมินตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้
1. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาแยกเป็นรายมาตรฐานตามตัวบ่งชี้
1.1 มาตรฐานที่บรรลุเป้าหมายตามแผนอยู่ในระดับ ดีมาก ได้แก่
1) มาตรฐานที่ 6 ระดับคะแนน 4.55
1.2 มาตรฐานที่บรรลุเป้าหมายตามแผนอยู่ในระดับ ดี ได้แก่
1) มาตรฐานที่ 1 ระดับคะแนน 3.66
2) มาตรฐานที่ 2 ระดับคะแนน 4.05
3) มาตรฐานที่ 3 ระดับคะแนน 3.82
4) มาตรฐานที่ 4 ระดับคะแนน 4.35
5) มาตรฐานที่ 5 ระดับคะแนน 3.83
1.3 มาตรฐานที่ไม่บรรลุป้าหมายตามแผนอยู่ในระดับ พอใช้ ได้แก่
-
1.4 มาตรฐานที่ไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนอยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง ได้แก่
-
1.5 มาตรฐานที่ไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง ได้แก่
-
2. จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา
2.1 มาตรฐานที่ 1 ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1) จุดเด่น
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การดำเนินงานของสถานศึกษามีความสอดคล้องกันโดยสถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม พ.ศ. 2552-2554 แผนปฏิบัติการประจำปี 2553 ที่ได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสถานศึกษา และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา กศน.ตำบล ทุกตำบลมีแผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกหมวดวิชาในทุกระดับชั้น
สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2552- 2554 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ระบุปรัชญา วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและหลักปรัชญาคิดเป็นรวมไปถึงหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริและเป็นไปตามนโยบายการศึกษาของสำนักงาน กศน. และสำนักงาน กศน.จังหวัด ทั้งนี้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดปรัชญา เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ของสถานศึกษา
แผนปฏิบัติการประจำปีมีการกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินความสำเร็จในทุกโครงการ/กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และมีการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการครอบคลุมทุกพันธกิจและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด โดยที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงาน มีแผนการนิเทศ และดำเนินการนิเทศ ในงานทุกกิจกรรมมีการประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามแผน และนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจ และพัฒนา ปรับปรุงงานในปีต่อไป
2) จุดที่ควรพัฒนา
สถานศึกษาควรดำเนินการนิเทศ และติดตามการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนอย่างต่อเนื่อง ทุกกิจกรรมและมีการประเมินผล และนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจ และพัฒนา ปรับปรุงงานในปีต่อไป
2.2 มาตรฐานที่ 2 การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) จุดเด่น
สถานศึกษามีครู และบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ ตำแหน่งครูอาสาสมัคร และครูศูนย์การเรียนชุมชนที่มีคุณภาพ เนื่องจากครูทุกคนได้รับการพัฒนาและนำความรู้มาพัฒนางานอย่างต่อเนื่องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตาม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และครูทุกคนเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูได้ และเป็นผู้มีคุณวุฒิมีประสบการณ์และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลักการจัดการศึกษานอกระบบ โดยครูมีแผนจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการและศักยภาพของผู้เรียนในทุกสาระวิชาและทุกระดับชั้น
สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการสภาพปัญหา ความต้องการของท้องถิ่น และมีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้เหมาะสมต่อไป
2) จุดที่ควรพัฒนา
1.สถานศึกษาควรจัดหาสื่อประกอบการเรียนการสอนให้เพียงพอและหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เหมาะสมกับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองตามความสนใจ
2. สถานศึกษา ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
3. สถานศึกษาควรประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อนำข้อมูลมาพัฒนา ปรับปรุงในการจัดหาสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน
4. สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาหลัก โดยสถานศึกษาต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนำข้อมูลมาวางแผนการพัฒนาผู้เรียนและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมตามศักยภาพของผู้เรียน ทั้งนี้สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมปรับพื้นฐานผู้เรียนในรายวิชาหลัก 4 วิชา โดยมีเครื่องมือที่เหมาะสม ครอบคลุมเนื้อหาของสาระวิชา จัดสอนเสริมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้สถานศึกษา ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน มีแผนการเรียนรู้รายบุคคล หรือรายกลุ่ม เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนให้สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้และศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน
2.3 มาตรฐานที่ 3 การจัดการศึกษานอกระบบประเภทการศึกษาต่อเนื่อง
1) จุดเด่น
สถานศึกษามีหลักสูตรและโปรแกรมการเรียนรู้ ที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและผู้รับบริการ เนื่องจากสถานศึกษามีการสำรวจ ข้อมูล สภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และการวางแผนดำเนินงานให้เหมาะสม กศน.ตำบลทุกตำบล มีแผนการปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและจากการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการตามแผนฯปรากฏว่าทุกกิจกรรมและโครงการมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรมและโครงการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับดี ขึ้นไป
ครูและผู้สอนในแต่ละหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้รับบริการให้เข้าใจและปฏิบัติได้จริง ทำให้ผู้รับบริการที่จบหลักสูตร มีความรู้และความสามารถเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
สถานศึกษามีการประเมินหลักสูตรโดยผู้เรียนและผู้รับบริการ เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการและชุมชนอย่างแท้จริง
2) จุดที่ควรพัฒนา
สถานศึกษาควรมีการจัดหาสื่อการเรียนรู้ให้หลากหลายเพียงพอและมีแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนผู้รับบริการเพื่อให้ผู้เรียน ผู้รับบริการได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ตามความสนใจและความต้องการ โดยสถานศึกษาต้องมีการ สำรวจความต้องการการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดหาสื่อ หรือ พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม รวมถึงมีการประเมิน เพื่อสำรวจความพึงพอใจในการ ให้บริการและใช้บริการสื่อ/และแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้รับบริการ เพื่อนำผลการสำรวจไป พัฒนาปรับปรุงสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ ให้มีคุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องมีการแนะนำสื่อและการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้รับบริการได้ทราบอย่างทั่วถึงในรูปแบบต่างๆ และครูผู้สอนควรมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนผู้รับบริการไปใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.4 มาตรฐานที่ 4 การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
1) จุดเด่น
1. กศน.ตำบลและสถานศึกษามีแผนปฏิบัติการประจำปีที่ระบุแผนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่ชัดเจนและมีกิจกรรมและโครงการส่งเสริมและบริการการอ่านที่หลากหลาย
3. ห้องสมุดมีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยหลากหลาย หมุนเวียนให้บริการตลอดปี โดยในการจัดหาหนังสือและสื่อจะมีการสำรวจความต้องการหนังสือและสื่อ เพื่อห้องสมุดจะสามารถจัดหาหนังสือและสื่อได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
4. กศน.ตำบลและห้องสมุดประชาชนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนสนใจรักการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ชุมชนรักการอ่าน ถุงความรู้สู่ชุมชน ห้องสมุดเคลื่อนที่และ ครอบครัวรักการอ่าน เป็นต้น
5. สถานศึกษามีโครงการพัฒนาความรู้ทักษะและความสามารถของผู้เรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนและผู้รับบริการรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากอินเตอร์เน็ต โดยจัดอบรม ให้ความรู้หลักสูตรคอมพิวเตอร์และการใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้นให้แก่นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ เพื่อนักศึกษาและประชาชนได้ใช้ความรู้และทักษะที่ได้จากหลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
2) จุดที่ควรพัฒนา
1. ห้องสมุดประชาชน ต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานห้องสมุดที่ระบุกิจกรรม/โครงการห้องสมุดประชาชนที่ชัดเจน โดยกิจกรรม/โครงการ ควรมาจากการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อที่จะสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้
2. สถานศึกษา ควรมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของห้องสมุดและ กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินการและปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม
2.5 มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการ
1) จุดเด่น
1. สถานศึกษามีโครงสร้างการบริหารและมีการมอบหมายงานให้บุคลากรรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2. มีแผนปฏิบัติงานประจำปีที่ สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการทำงานของ สำนักงาน กศน.และจังหวัดโดยทุกกิจกรรม/โครงการมีการนำมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน
3. ผลการดำเนินงานตามแผนเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรม/โครงการและดำเนินงานครบถ้วนในทุกพันธกิจ
4. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) จุดที่ควรพัฒนา
1. สถานศึกษาควรจัดระบบสารสนเทศเพื่อบริการให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ พัฒนาปรับปรุงงานให้มีคุณภาพได้ โดยต้องมีการประเมินโครงการ/กิจกรรม ในทุกโครงการ/กิจกรรม
2. สถานศึกษาต้องมีการนิเทศติดตามและกำกับการทำงานตามแผนและการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และนำผลการนิเทศมาตรวจสอบ ทบทวนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง
3. สถานศึกษาต้องกำหนดนโยบายเกี่ยวกับ การวิจัย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการวิจัย เพื่อพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพต่อไป
2.6 มาตรฐานที่ 6 การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
1) จุดเด่น
1. สถานศึกษาได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นอย่างดี
2. สถานศึกษามีหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย มาร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและร่วมติดตามประเมินผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง
2) จุดที่ควรพัฒนา
1. สถานศึกษาควรทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และจัดทำแผนการทำงานร่วมกับเครือข่าย ที่ชัดเจนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่
2. สถานศึกษาควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ภาคีเครือข่ายทราบ อย่างต่อเนื่อง
3. ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
3.1 การพัฒนาองค์กร
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร ครู ผู้เรียน คณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรนักศึกษา อาสาสมัคร กศน. มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน โดยเฉพาะคุณภาพของผู้จบการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.2 การพัฒนาบุคลากร
สถานศึกษาได้กำหนดแผนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ในแผนยุทธศาสตร์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยศึกษาอำเภอแจ้ห่ม พ.ศ. 2552-2554 เพื่อให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรม จัดทำแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีความสามารถในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน รวมทั้งสามารถประเมินผลที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ และที่สำคัญคือ การส่งเสริม สนับสนุนให้ครูทำวิจัยอย่างง่าย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
3.3 การพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
หน้าหลัก
|
ความเป็นมา
|
โครงสร้าง
|
นโยบาย
|
บทบาท/ภารกิจ
|
บุคลากร
|
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
ที่อยู่ 136 ม.3 ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โทร./FAX 054-271555