Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
ID
PWD
กลับหน้าหลัก
แนะนำ ศศช.อ.แจ้ห่ม
ความเป็นมา
โครงสร้าง
นโยบาย
บทบาท/ภารกิจ
บุคลากร
ผลงานทางวิชาการ
ข้อมูล ศศช.อ.แจ้ห่ม
ที่ตั้งและอาณาเขต
สถานที่ท่องเที่ยว
ภาคีเครือข่าย
คณะกรรมการ ศศช.อ.แจ้ห่ม
องค์กรนักศึกษา
อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรม ศศช.
แหล่งเรียนรู้ ศศช.
ภูมิปัญาท้องถิ่น
ติดต่อหน่วยงาน ศศช.
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของ ศศช.บ้านห้วยปง วันที่ 8/08/2563
รายละเอียด
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
บ้านห้วยปง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน บ้านห้วยปง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง..........ปักผ้าเผ่าเย้า..........
ชื่อ-สกุล ปราชญ์ผู้รู้ : นางฟาม แซ่สั่น
หมู่บ้านห้วยปง บ้านเลขที่.....139....หมู่ที่...4.....ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ความเป็นมา
นางฟาม แซ่สั่น เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม 2505 เป็นคนเผ่าเย้า เดิมเป็นคนหมู่บ้านเลาสู ได้ย้ายจากหมู่บ้านเลาสูมาอยู่หมู่บ้านห้วยปงปี พ.ศ. 2546 นางฟาม แซ่สั่นได้เริ่มเรียนการปักผ้าเผ่าเย้าเมื่ออายุ 7 ปี มาจากมารดา ชื่อ นางสมร แซ่แจ๋ว จนเกิดทักษะและชำนาญตอนอายุประมาณ 12-13 ปี และเมื่อได้มาอยู่หมู่บ้านห้วยปงรวมกลุ่มกันปักผ้าเผ่าเย้ากับผู้หญิงในหมู่บ้านห้วยปงแล้วนำส่งโครงการปักผ้าของพระราชินีในรัชกาลที่ 9 จนถึงปัจจุบัน ลายผ้าที่ปัก ได้แก่ ลายดอกไม้ ลายหูเสือ ลายเสือ ลายตีนหมา ลายเลื่อย งานปักผ้าเผ่าเย้าเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำไร่เสร็จแล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวอีกทั้งเป็นการสืบทอดการปักผ้าเผ่าเย้าตั้งแต่สมัยดั้งเดิม จากรุ่นสู่ร่นปู่ ย่า ตา ยาย และสามารถถ่ายทอดการปักผ้าเผ่าเย้าให้ลูก หลานหรือคนรุ่นหลังต่อไปได้ ในปีหนึ่งๆ นางฟาม แซ่ซั่น จะปักผ้าได้ 2-3 ผืน ขนาดผ้ากว้าง 1 ศอก ยาวประมาณ 0.5 - 1 เมตร ราคาประมาณ 500-1,500 บาท (แล้วแต่ลายผ้าปัก)
วัสดุอุปกรณ์
1. ผ้าฝ้าย
2. ด้าย
3. เข็ม
4. กรรไกร
ขั้นตอน
1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น ผ้าฝ้าย ด้าย เข็ม กรรไกร
2. เลือกแบบลายที่ต้องการปัก แล้วลงมือปักผ้า
3. เลือกปักผ้าตามที่ตลาดต้องการแล้วปักผ้าจำหน่าย
ข้อเด่น
1. ได้สืบทอดการปักผ้าจากรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย
2. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. มีรายได้เพิ่มขึ้น
ข้อพึงระวัง/ข้อเสนอแนะ
1. ในการปักผ้าต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอ
2. ถ้าคนปักผ้ามองเห็นไม่ชัดเจน ควรสวมแว่นตาเพื่อช่วยในการ
มองเห็น
ภูมิปัญญาชาวบ้าน บ้านห้วยปง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง..........การจักสานไม้ไผ่..........
ชื่อ-สกุล ปราชญ์ผู้รู้ : นายไหน จิรกมลศักดิ์
หมู่บ้านห้วยปง บ้านเลขที่.....72....หมู่ที่...4.....ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ความเป็นมา
นายไหน จิรกมลศักดิ์ เกิดวันที่ 8 มิถุนายน 2506 เป็นคนชอบเรียนรู้ มีความสนใจในการจักสานไม้ไผ่ เมื่ออายุประมาณ 13 ปี โดยดูตัวอย่างการจักสานไม้ไผ่จากผู้อื่นแล้วลองฝึกจักสานเอง การจักสานไม้ไผ่ที่ได้จักสาน ได้แก่ สานตะกร้า ,แจกเปอะ(ตะกร้าชนิดหนึ่งเป็นชื่อเรียกของชนเผ่าเย้า) ,ตะกร้าใส่ไก่ ,สุ่มไก่ ,ขันโตก ซึ่งนายไหน จิรกมลศักดิ์จะจักสานแล้วเอาไว้ใช้เองและจำหน่าย หมู่บ้านห้วยปงมีไม้ไผ่มากมาย ไม่ไผ่ที่สามารถนำมาจักสาน ได้แก่ พันธุ์ไม้ไผ่ นำมาจักสานได้ดีในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม , พันธุ์ไม้บง พันธุ์ไม้หก พันธุ์ไม้เหี้ยะ นำมาจักสานได้ทุกเดือน
วัสดุอุปกรณ์
1. มีดอีโต้
2. ไม้ไผ่
3. ผ้าพันนิ้วมือ
ขั้นตอน
1. ตัดไม้ไผ่
2. นำผ่าเป็นซึก ซีกเส้นยาวๆเหลาเหลี่ยมให้เกลี้ยง เรียบ
3. นำมาสานตะกร้าแบบต่างๆ
4. นำไปรมควันไฟเพื่อกันแมลงและเผาขุยไม้ไผ่ ไม่ให้มีขุย
ข้อเด่น
1. ประหยัดไม่ต้องเสียเงินซื้อพลาสติก
2. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3. ย่อยสลายได้
4. ต้นทุนต่ำ
ข้อพึงระวัง/ข้อเสนอแนะ
- รณรงค์การปลูกไม้ไผ่ไว้ใช้สอยในสวน เช่น ไผ่รวก ไผ่ซาง ไผ่บง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน บ้านห้วยปง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง..........หมอผี..........
ชื่อ-สกุล ปราชญ์ผู้รู้ : นายต่อมไหม แซ่เติ๋น
หมู่บ้านห้วยปง บ้านเลขที่.....78....หมู่ที่...4.....ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ความเป็นมา
นายต่อมไหม แซ่เติ๋น เกิดวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่ออายุ 60 ปี มีความสนใจและได้ศึกษาการเป็นหมอผีมาจากการฟัง ดู และสอบถามจากหมอผีหมู่บ้านอื่นว่าทำอย่างไรแล้วนำมาลงมือทำ
นายต่อมไหม แซ่เติ๋น ภูมิปัญญาชาวบ้านบ้านห้วยปงเล่าให้ฟังว่า หมอผีจะมีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากคนในสมัยก่อนมานานแล้ว ชนเผ่าเย้าจะมีเลี้ยงผี เพราะเป็นประเพณีเลี้ยงผีที่ทำกันทุกปี ทุกหลังคาเรือน จะเลี้ยงผีในวันต่างๆ ได้แก่ เลี้ยงในวันเข้าพรรษา เลี้ยงปีใหม่ เป็นการเลี้ยงในบ้าน และมีการเลี้ยงผีในป่าของชาวบ้านของเผ่าเย้าด้วย
วัสดุอุปกรณ์
1. ถ้วยใบเล็กขนาดเท่าๆ กัน จำนวน 6 ใบ ใส่น้ำเปล่า
2. ที่จุดธูป 1 อัน
3. ขันตั้ง
4. ไก่เป็นตัว หมูเป็นตัว
5. ธูป เทียน
6. กระดาษตังค์ (ลักษณะกระดาษจะคล้ายกระดาษปรุ๊ฟทำเป็นตังค์ ตอกเป็น 15 แถว ถือว่าเป็น 5 บาทถ้าตอกเกิน 15 แถวก็ถือว่าเป็น 5 บาทเหมือนกัน ถ้าตอกไม่ถึง 15 แถวถือว่าเป็น 4 บาท)
ขั้นตอน
1. จัดวางวัสดุอุปกรณ์ ข้อ 1-5 (ถ้าเลี้ยงผีในบ้านจะวางวัสดุอุปกรณ์บนโต๊ะ แต่ถ้าเลี้ยงผีในป่าจะวางวัสดุอุปกรณ์บนพื้น
2. หมอผีเรียกผีให้มาพร้อมทั้งเอาไม้ไผ่ตีกระทบกันเป็นการเรียกผีมากินของที่จะเลี้ยงนั้นอ(ไม้ไผ่แก่ผ่าครึ่งขนาดยาวเท่าฝ่ามือ 2 อัน) หมอผีเอากระดาษตังค์โยนตรงหน้า กระดาษตังค์จำนวนนับไม่ถ้วน แล้วโยนไม้ไผ่ที่ผ่าครึ่ง ถ้าไม่ไผ่หงายทั้ง 2 อัน หรือคว่ำทั้ง 2 อัน แปลว่า ผีได้ตังค์พอแล้ว ถ้าไม้ไผ่คว่ำ1 อัน หงาย1 อัน แปลว่า ยังไม่พอ หมอผีต้องโยนกระดาษตังค์เพิ่มอีก แล้วโยนไม้ไผ่สลับกันไปจนกว่าจะได้ไม้ไผ่หงายหรือคว่ำทั้ง 2 อัน แล้วหมอผีรินเหล้าให้ผี จุดกระดาษตัวค์เป็นการส่งให้ผีแล้วบอกให้ผีกลับไป
ข้อเด่น
- เป็นการสืบทอดประเพณีการเลี้ยงผีของชนเผ่าเย้า
ข้อพึงระวัง/ข้อเสนอแนะ
- ควรมีการหาคนมาสืบทอดการเป็นหมอผีให้มีต่อไป
หน้าหลัก
|
แผนปฏิบัติการ
|
ศูนย์แนะแนว
|
ข้อมูลสาระสนเทศ
|
ดาวน์โหลด
กศน.ตำบลแจ้ห่ม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง 52120