Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
ID
PWD
กลับหน้าหลัก
แนะนำ ศศช.อ.แจ้ห่ม
ความเป็นมา
โครงสร้าง
นโยบาย
บทบาท/ภารกิจ
บุคลากร
ผลงานทางวิชาการ
ข้อมูล ศศช.อ.แจ้ห่ม
ที่ตั้งและอาณาเขต
สถานที่ท่องเที่ยว
ภาคีเครือข่าย
คณะกรรมการ ศศช.อ.แจ้ห่ม
องค์กรนักศึกษา
อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรม ศศช.
แหล่งเรียนรู้ ศศช.
ภูมิปัญาท้องถิ่น
ติดต่อหน่วยงาน ศศช.
ข้อมูลสารสนเทศ : ประวัติหมู่บ้านห้วยปง วันที่ 8/08/2563
รายละเอียด
ประวัติหมู่บ้านห้วยปง
ประชากรแต่เดิมประชากรเป็นชาวพื้นเมืองหมู่บ้านไฮ ขึ้นมาทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน ซึ่งในฤดูฝน ทำนาและทำไร่ข้าวโพด โดยการนำของ นายผัด มียันต์ ,นายบุญ เรือนคำ ได้เข้ามาอาศัยและทำการก่อสร้างบ้านอย่างถาวรขึ้นในพื้นที่และในปี พ.ศ. 2528 ชาวเขาเผ่าเย้าบางส่วนได้อพยพมาจากบ้านแม่ตาสามัคคี หมู่ 5 บ้านเลาสู หมู่ 8 ต.ปงดอน และบ้านแม่แก้ อ.งาว ประชากร ปัจจุบันบ้านห้วยปงมีชาวเขาเผ่าเย้า 88 คน และชาวพื้นเมือง 6 คน
ลักษณะที่ตั้งอาณาเขตบ้านห้วยปง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอแจ้ห่ม
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทหน่วยที่ 5 (น้ำตกตาดน้อย)อุทยานแห่งชาติสัตว์
ป่าและพันธุ์พืช)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลปงดอนอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
การคมนาคม
1. ระยะทางอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม ระยะทาง 25 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 77 กิโลเมตร
2. เดินทางไป ศศช.บ้านห้วยปงได้ 2 เส้นทาง คือ
2.1 เส้นทางลาดยางสายวัดผาแดงหลวง บ้านไฮเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักถนนลูกรัง ตามเส้นทางหลวง หมายเลข 1335สายบ้านไฮ-บ้านแม่อ้อน อำเภองาว
2.2. เส้นทางเป็นถนนลูกรังบ้านแม่อ้อน อำเภองาว บ้านไฮ
การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร 20 ครอบครัว (ทำนา1 ครอบครัว (5 %),ทำไร่และเลี้ยงไก่ 15 ครอบครัว (75 %) ,ทำไร่และเลี้ยงหมู 3 ครอบครัว (15%) และค้าขาย 1 ครอบครัว
(5 %)
ลักษณะภูมิประเทศและระบบสาธารณูปโภค
มีสภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงและป่าไม้เบญจพรรณ เป็นอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเส้นทางคมนาคมเป็นถนนลูกรัง มีไฟฟ้า มีระบบประปาภูเขา
สถานที่น่าสนใจคือน้ำตกตาดน้อย เดินทางเข้าหมู่บ้านห้วยปง ก่อนถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทหน่วยที่ 5 (น้ำตกตาดน้อย)อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช 500 เมตร และระยะทางจาก น้ำตกไปทางทิศตะวันออกห่างจากหมู่บ้านห้วยปง เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร มีน้ำตกสวยงาม คือ น้ำตกตาดน้อย โดยเฉพาะฤดูฝน
ข้อมูลประชากรบ้านห้วยปง
ข้อมูลประชากรบ้านห้วยปง หมู่ 4 ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีจำนวน 95 คน
จำนวน 28 หลังคาเรือน , 20 ครอบครัว (ข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม 2563)
สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรในหมู่บ้านห้วยปงส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม
มีกลุ่มปักผ้าบ้านห้วยปง
สภาพทางสังคมสถาบันและองค์กรศาสนา
- โบสถ์ศาสนาคริสต์บ้านห้วยปง หมู่ 4
สถานศึกษา
- ศศช.บ้านห้วยปง
สาธารณสุข 1 แห่ง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (บ้านเปียงใจ)
อุทยาน1แห่ง - อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทหน่วยที่ 5 (น้ำตกตาดน้อย) อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
การบริการพื้นฐาน มีระบบโทรศัพท์ 5 หลังคาเรือน
การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้จำนวน 28 หลังคาเรือน
พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้าน ห้วยปง 820 ไร่ แยกเป็น
1. พื้นที่ที่อยู่อาศัย 20 ไร่
2. พื้นที่การเกษตร 300 ไร่
3. ป่าชุมชน 500 ไร่
ด้านแหล่งน้ำ
- ลำห้วย (แม่แมะ) ไหลผ่าน มีน้ำตลอดปี
- ลำห้วยทราย ฝายกั้นน้ำ 3 ฝาย ไหลผ่าน มีน้ำตลอดปี
ปฏิทินการประกอบอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน
- เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม: ปลูกข้าว
- เดือนพฤษภาคม - กุมภาพันธ์ของปีถัดไป : ปลูกข้าวโพด
- เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม : ปลูกขิง
- เดือนสิงหาคม. - กันยายน : หาของป่า
- เดือนมกราคม - เมษายน : เตรียมดินปลูก ข้าว ข้าวโพด ขิง
- เดือน กุมภาพันธ์: วันประเพณีปีใหม่เย้า
วันกำ(หยุดทำงานในไร่)
- วันกำเสือ : เดือนกุมภาพันธ์ ห้ามไปไร่ (จะเกิดอันตราย)
- วันกำวันกำลม กำผีฟ้า : เดือนมีนาคม - เมษายนห้ามไปไร่ (จะเกิดอันตราย)
- วันกำมีด กำมุย: เดือนเมษายนห้ามไปไร่ และถือมีด ถือขวานไปไร่ (จะเกิดอันตราย)
- วันกำนก กำหนู กำงู : เดือนพฤษภาคม ห้ามไปไร่ (จะถูกงูกัด)
สัตว์เศรษฐกิจ - สุกร - ไก่
พืชเศรษฐกิจ
-ข้าวโพด รวมทั้งหมู่บ้าน ประมาณ 230 ไร่ ผลิตผล 30,490 กิโลกรัม เก็บเกี่ยวผลผลิตและมีรายได้ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม, มกราคม-กุมภาพันธ์ (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2563)
- ขิง รวมทั้งหมู่บ้าน ประมาณ 70 ไร่ ผลิตผล 19,530 กิโลกรัม เก็บเกี่ยวผลผลิตและมีรายได้ช่วง
เดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2563)
หน้าหลัก
|
แผนปฏิบัติการ
|
ศูนย์แนะแนว
|
ข้อมูลสาระสนเทศ
|
ดาวน์โหลด
กศน.ตำบลแจ้ห่ม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง 52120